MBA HOLIDAY

Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

วิเคราะห์ SWOT


ส่วนที่1 วิเคราะห์ SWOT
• จุดแข็ง / จุดอ่อน เป็นสิ่งที่บริษัทควบคุมได้ด้วยตนเอง (ให้ดูตัวอย่างในหน้า 333-338)
- การเงิน สภาพคล่องสูง เป็น จุดแข็ง
ลูกหนี้มาก เป็น จุดอ่อน
-บุคคล บุคลากรมีความสามารถสูง เป็นจุดแข็ง
-ตลาด มีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 เป็นจุดแข็ง
สามารถทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยอมรับได้กับราคาที่เหนือกว่าคู่แข่ง เป็นจุดอ่อน
-เทคโนฯ โซนี่ได้เสนอผลิตภัณฑ์ในหมวดภาพที่ให้สัญญาณระดับ Full HD เป็นจุดแข็ง
• โอกาส / อุปสรรค เป็นสภาพแวดล้อมภายนอก ที่บริษัทไม่สามารถควบคุมเองได้(หน้า330-332)
-เศรษฐกิจ เศรษฐกิจขาขึ้น เป็นโอกาส
ภาวะผันผวนของค่าเงินบาท เป็นอุปสรรค
-การเมือง สถานการณ์ทางการเมืองที่มียังไม่แน่นอน เป็นอุปสรรค
-สังคม ผู้บริโภคชะลอการซื้อ เป็นอุปสรรค
-เทคโนฯ เทคโนโลยีของสินค้ายังไม่มีรูปแบบมารองรับ เป็นอุปสรรค
ส่วนที่ 2 วิเคราะห์เทคนิคการสร้างทางเลือก
ระดับบริษัท 1) Tow matrix จับคู่ในการวิเคราะห์ จุดแข็ง กับ จุดอ่อนอะไรมีมากกว่ากัน จุดแข็งมากว่าใส่ช่อง S จุดอ่อนมากกว่า ใส่ช่อง W , จับคู่โอกาสกับอุปสรรค อะไรมีมากกว่ากันโอกาสมากว่าใส่ช่อง O จุดอ่อนมากกว่า ใส่ช่อง T
2) Space matrix ดูจาก Tow matrix ที่วิเคราะห์
3) BCGmatrix ใส่มาแค่1ช่อง ดูจาก Tow matrix ที่วิเคราะห์
4) Grand Strategy matrix ดูจาก Tow matrix ที่วิเคราะห์ แล้ววิเคราะห์ว่าบริษัทอยู่ในส่งไหน แล้วจึงแนะนำกลยุทธ์
ส่วนที่ 3 แนะนำทางเลือก
ระดับบริษัท
1. แนวดิ่ง มี 2 ลักษณะ
- การรวมธุรกิจไปข้างหน้า เป็นการรวมธุรกิจที่มุ่งไปข้างหน้าเพื่อให้ใกล้ชิดกับผู้บริโภคหรือลูกค้า เช่น บริษัทผลิตเฟอร์นิเจอร์ เปิดร้านค้าปลีกที่ขายเฟอร์นิเจอร์ในจังหวัดต่างๆ เพื่อให้สามารถขายสินค้าให้กับผู้บริโภคได้โดยตรง , ธุรกิจขายเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้จัดให้มีพนักงานขายตรงไปเสนอขายสินค้าต่อผู้บริโภคถึงบ้าน เป็นต้น
- การรวมธุรกิจไปข้างหลัง เป็นการรวมธุรกิจที่มุ่งไปข้างหลังเพื่อให้ใกล้ชิดกับแหล่งวัตถุดิบมากขึ้น เช่น บริษัทเราจากเดิมที่มีการส่งออกไก่แช่แข็งแต่ข่าวไข้หวัดนกระบาดทำให้ผู้บริโภคไม่มั่นใจในความปลอดภัย เราก็อาจหันมาทำฟาร์มเลี้ยงไก่ได้มาตรฐาน , ธุรกิจขนมปังที่ต้องที่ต้องใช้แป้งเป็นส่วนผสมหลักที่ต้องสั่งซื้อจากบริษัทภายนอก เราก็หันมาผลิตแป้งเองโดยสามารถใช้ทำเองและส่งขายได้ เป็นต้น
2. แนวนอน มี 2 ลักษณะ
- แบบเชี่ยวชาญ การผันตัวเองไปทำธุรกิจในส่งที่คล้ายกัน เช่น บริษัทค้าส่งเหล้า ก็หันไปค้าส่งเบียร์ด้วย , ธุรกิจน้ำมันพืชที่ผลิตน้ำมันพืชจากถั่วเหลือง ก็อาจผลิตน้ำมันพืชจากเมล็ดดอกทานตะวัน หรือน้ำมันมะกอกที่ใช้ปรุงอาหาร , ธุรกิจปูนซีเมนต์ ที่นอกจากผลิตปูนซีเมนต์แล้วก็ทำธุรกิจผลิตวัสดุก่อสร้างด้วย เป็นต้น
- แบบไม่เชี่ยวชาญ การผันตัวเองไปทำธุรกิจในส่งไม่ถนัด หรือไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม เช่น โตโยต้าผลิตรถยนต์ไปผลิตกระสวยอวกาศ , โซนี่จากเดิมผลิตเครื่องเสียงไปผลิต เสื้อผ้า , โออิชิ จากเดิมผลิตเครื่องดื่มชาเขียว หันมาผลิตเหล้าหรือเบียร์
ระดับธุรกิจ
1. ทั่วไป กลุ่มลูกค้าทั่วไปไม่เน้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น หนังสือ , รถยนต์ของHonda , สินค้าของโซนี่
-ต้นทุน เน้นขายของราคาถูก
- แตกต่าง สร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มความสนใจจากผู้บริโภค
2. เฉพาะ เน้นกลุ่มลูกค้าเฉพาะ เช่น นมผงสำหรับเด็ก , รถยนต์เฟอราลี่ ,
-ต้นทุน เน้นขายของราคาถูก
- แตกต่าง สร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มความสนใจจากผู้บริโภค
ระดับหน้าที่ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างขององค์กร
1. ตลาด ทำอย่างไรให้สินค้าติดตลาด เช่น โฆษณา , ประชาสัมพันธ์
2. ผลิต กำลังการผลิตมากน้อยอย่างไร , รูปแบบแพ็คเกจ
3. บุคคล การฝึกอบรมพนักงานหรือเจ้าหน้าที่
4. การเงิน จัดสรรและการควบคุมงบประมาณ เช่น งบการโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์ และกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวกับการเงิน

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา